เตาแก๊ส 1 หัว 2 หัว หรือ 3 4 5 หัวนั้นแตกต่างกันยังไง เหมาะกับห้องครัวแบบไหนนะ

Last updated: 24 ธ.ค. 2565  |  8849 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เลือก เตาแก๊ส กี่ 2 หัว ดี หัวเตา 1 3 4 5

เมื่อพูดถึงเตาแก๊ส นอกจากเรื่องหน้าเตาสแตนเลส หรือกระจก หัวเตาชนิดไหน ให้ไฟแรงแค่ไหนแล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องตัดสินใจเวลาเลือกเช่นเดียวกันก็คือ "จำนวนหัวเตา" นั่นเอง ทีนี้เตาแก๊สที่มีจำนวนหัวเตาแตกต่างกันไปนั้นมีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันอย่างไรนะ และนอกจากนั้นเราควรจะต้องพิจารณาอะไรบ้าง วันนี้ลัคกี้เฟลมเราช่วยสรุปมาให้เข้าใจง่ายๆ แล้วครับ

เตาแก๊ส 1 หัว หรือ เตาแก๊สหัวเดี่ยว - หัวเดียว ไฟแรง ทำได้ทุกอย่าง

เหมาะสำหรับคนที่อยู่คนเดียว ชอบทำกับข้าว 1-2 อย่างต่อมื้อ หรือคนที่ไม่ค่อยทำอาหารแต่ก็ต้องการเตาแก๊สไว้สำหรับผัดอาหารในบางมื้อ หรือ ห้องครัวที่ขนาดเล็ก ไม่สามารถวางเตาแก๊ส 2 หัวขึ้นไปที่กินที่มากกว่าเตาหัวเดียวมากกว่าเท่าตัว


LGS-341 จิ๋วแต่แจ๋ว ให้ไฟแรง 4.5kW

  • ข้อดี : ขนาดกะทัดรัด ช่วยประหยัดพื้นที่ได้มาก ส่วนใหญ่ได้ไฟแรงเท่าเตาแก๊ส 2 หัว ทำให้ใช้ประกอบอาหารได้ทุกรูปแบบ
  • ข้อเสีย : ทำได้แค่ทีละอย่าง จึงไม่เหมาะกับการทำกับข้าวหลากหลายมากนัก

เตาแก๊ส 2 หัว หรือ เตาแก๊สหัวคู่ - มาตรฐานครัวไทย ทำได้สองอย่างพร้อมกัน

เหมาะสำหรับทุกครัวเรือน เป็นขนาดที่นิยมที่สุดสำหรับครัวไทย เพราะครอบครัวในปัจจุบันเป็นครอบครัวเล็กถึงปานกลาง 2-4 คน ที่ทำกับข้าวหลายอย่างในมื้อที่ทานร่วมกัน เหมาะกับบ้านที่มีห้องครัวที่ไม่เล็กจนเกินไป และไม่ใหญ่จนเกินไป


LGS-992BT หัวเตาใหม่เปลวไฟ 3 ชั้น 6kW ต่อหัวพร้อมระบบตั้งเวลา

  • ข้อดี : เนื่องจากเตามี 2 หัว ทำกับข้าวได้พร้อมกัน 2 อย่าง เป็นจำนวนที่กำลังดีที่พ่อครัวแม่ครัวคนเดียวจะควบคุมได้ เช่น ต้มแกงด้านหนึ่ง ผัดๆ อีกด้านหนึ่ง ขนาดมาตรฐานที่เราคุ้นเคย เตาทั้ง 2 หัวให้ไฟได้แรงพอทำกับข้าวในทุกรูปแบบเช่นเดียวกับหัวเดี่ยว
  • ข้อเสีย : ไม่สามารถทำอาหารพร้อมกันเยอะๆ ได้มากกว่า 2 อย่าง บางครั้งอาจต้องการเคี่ยวหรือตุ๋นอาหารนานๆ ก็จะกินที่ไป 1 หัวเตาเลยทันที

เตาแก๊ส 3 หัว - 3 หัวกำลังดี เร่งก็ได้ อุ่นก็ดี แถมถูกหลักฮวงจุ้ย

เหมาะสำหรับการปรุงอาหารไปด้วย อุ่น เคี่ยวหรือตุ๋นอาหารไปด้วยพร้อมกัน เพราะหัวที่เสริมมาจะเป็นหัวเล็ก หรือ บางรุ่นจะมีหัวอเนกประสงค์ เช่นหัวย่าง แต่ว่าจะกินที่มากกว่าเตาแก๊ส 2 หัวเล็กน้อย เพราะมีเตาหัวที่ 3 มาแทรกตรงกลาง ทำให้ต้องเพิ่มระยะเว้นตรงกลางมากขึ้น


LGS-913 เตาแก๊ส 3 หัวให้ไฟแรงรวมสูงถึง 11.1kW

  • ข้อดี : พอมี 3 หัวก็ตอบโจทย์การทำอาหารพร้อมๆ กันได้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากต้มน้ำเดือดแล้วก็สามารถยกไปต้มที่หัวเล็กต่อได้เพื่อให้หัวใหญ่ใช้งานกับอาหารอื่นถัดไปได้เลย และที่สำคัญ ตามหลักฮวงจุ้ย เตาแก๊สที่ดีควรมี 3 หรือ 5 หัว สายมูไม่ควรพลาดตรงจุดนี้ เพราะฮวงจุ้ยที่ดีช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้เหมือนกัน
  • ข้อเสีย : หัวที่ 3 จะค่อนข้างเบากว่าหัวใหญ่มาก ให้เปลวไฟที่เหมือนไฟเบาของหัวใหญ่เท่านั้น ราคาสูงกว่าแบบ 2 หัวแต่บางทีอาจจะได้ใช้งานไม่มากเท่าที่ควร เหมือนมีไว้สำรอง

เตาแก๊ส 4 หัว - จะกี่เมนูก็ไหว เลือกไฟแรง/เบาได้ตามเหมาะสม

เหมาะสำหรับครอบครัวที่ใหญ่ 4 คนขึ้นไป ชอบช่วยกันทำอาหาร หรือจัดปาร์ตี้บ่อย เพื่อให้ทำอาหารหลายๆ เมนูพร้อมๆ กันได้ เคาน์เตอร์ครัวต้องลึกกว่าเคาน์เตอร์ปกติ เนื่องจากเตาจะมีทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพิ่มพื้นที่ในแนวลึกเข้าหาผนังมากขึ้นพอสมควร คนตัวเล็กอาจจะไม่เหมาะกับเตาแบบนี้เนื่องจากเอื้อมไปเตาด้านหลังยาก


LGS-944 เตาแก๊ส 4 หัวทรงจัตุรัส ทำอาหารได้มากกว่า

  • ข้อดี : เนื่องจากมี 4 หัวเตาทำได้หลายเมนูพร้อมกันมากขึ้นไปอีก เลือกใช้ได้ทั้งไฟแรง ไฟกลาง ไฟเบาตามรูปแบบอาหารที่ทำได้ ช่วยให้ประหยัดแก๊ส
  • ข้อเสีย : ส่วนใหญ่ เตาแก๊ส 4 หัวจะมีหัวเตาใหญ่ไฟแรงแค่หัวเดียว ไม่เหมือนเตาแก๊ส 3 หัวที่มีไฟแรง 2 หัว และเนื่องจากเตามี 2 หัวเตาซ้อนกันอยู่ตามแนวลึก ทำให้เอื้อมถึงภาชนะของหัวเตาด้านหลังยาก อาจต้องใช้เคาน์เตอร์เตี้ยพิเศษ หรือผู้ใช้งานต้องตัวไม่เล็กจนเกินไป นอกจากนี้ เลข 4 ในภาษาจีนมีความหมายในทางที่ไม่ค่อยดี จึงไม่ถูกกับคำแนะนำซินแสเท่าที่ควร

เตาแก๊ส 5 หัว - ครัวใหญ่อลังการ ทำอาหารได้พร้อมกันเยอะมาก แถมถูกใจซินแส

เหมาะสำหรับครัวที่ใหญ่มากๆ จนถ้าเตาเล็กมันจะดูโหรงเหรงไม่สง่างาม มี 5 หัวทำอาหารได้พร้อมกันหลายอย่าง หลายคน เช่น ครอบครัวใหญ่ ร้านอาหาร หรือสถานที่จัดงานต่างๆ


LBS-945 ถูกใจครัวใหญ่ ถูกใจซินแสและสายมู

  • ข้อดี : ด้วยเตาที่ใหญ่ ทำให้ห้องครัวดูมีพลังมากขึ้น น่าเกรงขาม สามารถทำอาหารพร้อมกันได้ถึง 5 อย่าง หัวเตาใหญ่แยกต่างหากทำให้ไม่เกะกะหัวด้านหลังเหมือนแบบ 4 หัว แถมยังถูกหลักฮวงจุ้ยอีกตะหาก
  • ข้อเสีย : ใหญ่มาก กินที่ด้านกว้างมากกว่าแบบ 4 หัวออกไปอีก 1 บล็อค และมีหัวเตาไฟแรงแค่หัวเดียวเช่นเดียวกันบางครั้งอาจร้อนไม่ทันใจจอร์จได้ และมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมาก อาจไม่สะดวกในการขนย้ายมากนัก

นอกจากข้อดี/ข้อเสียของเตาแก๊สที่มีหัวเตาต่างๆ กันแล้ว การเลือกหัวเตาก็ควรคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

  1. จำนวนสมาชิกในครอบครัว : จำนวนคนบ่งบอกถึงจำนวนกับข้าวที่ต้องทำในแต่ละมื้อ ควรเลือกจำนวนหัวเตาที่เพียงพอในส่วนนั้น
  2. ขนาดเคาน์เตอร์ครัว : เคาน์เตอร์ที่ไม่ลึก เลือกใช้ได้เพียง 1-3 หัวเตาเท่านั้น และหากระยะกว้างไม่ถึง 70 ซม. ก็จำเป็นต้องใช้เป็นเตาหัวเดี่ยว หรือเตาแก๊สชนิดที่ตั้งพื้นแทนมากกว่า
  3. จำนวนหัวเตาใหญ่ (ไฟแรง) ที่ต้องการ : หัวเตาใหญ่ที่ไฟแรงสามารถปรับให้เบาได้ แต่หัวเตาที่เล็กและเบา ไม่สามารถให้ไฟแรงได้เท่าหัวเตาใหญ่ ดังนั้นจึงควรเลือกจำนวนหัวเตาใหญ่ที่เหมาะสมกับความต้องการไว้ก่อนเสมอ
  4. เครื่องดูดควัน : หากติดเครื่องดูดควัน เครื่องดูดควันมาตรฐานสำหรับบ้านเรือนครัวไทยจะออกแบบมาสำหรับเตาขนาด 1-3 หัวเตาเท่านั้น หากเลือกใช้เตาขนาด 4-5 หัวเตา ต้องพิจารณาเลือกใช้เครื่องดูดควันที่มีความลึกและความกว้างมากขึ้น

ลัคกี้เฟลม จุดประกายความสุขทุกครัวเรือน

เตาแก๊สลัคกี้เฟลมและวิธีเลือกเตาแก๊สที่เหมาะกับเรา

เตาแก๊สแบบฝัง vs เตาแก๊สแบบตั้งโต๊ะ เลือกใช้แบบไหนดี

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้