ภับเงียบ...สูดดมไอน้ำมันจากการทอด เสี่ยงมะเร็งปอดในระยะยาว

Last updated: 20 ก.ย. 2565  |  82119 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มะเร็งปอด ไอ ควัน น้ำมัน ทอด เครื่องดูดควัน

น้ำมันทอดซ้ำ ตัวร้ายทำลายสุขภาพ

มีการศึกษากันมายาวนาน ว่าอาหารที่ปรุงด้วยความร้อนสูง โดยเฉพาะอาหารที่ทอดในน้ำมัน อาทิเช่น ไก่ทอด เฟรนช์ฟราย ไส้กรอกลูกชิ้นทอด อาหารชุบแป้งทอดทั้งหลาย จะมีสารประกอบกลุ่มโพลาร์ที่อาจก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ต่างๆ หรือโรคมะเร็งได้ ซึ่งสารนี้จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นหลายเท่าในอาหารที่ทอดด้วยน้ำมันทอดซ้ำๆ เราจึงได้พบเห็นการรณรงค์ให้เลิกใช้น้ำมันทอดซ้ำกันอย่างแพร่หลายมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว

ที่มา: Facebook สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth

ควันน้ำมัน ภัยซ่อนเร้นใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

"สำหรับสาเหตุที่ทำให้ควันน้ำมันเป็นความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด นายแพทย์ศุภฤกษ์กล่าวว่า ควันน้ำมันมีสารบางชนิดซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ จนในที่สุดกลายเป็นเซลล์มะเร็ง แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชี้ชัดว่าการทำอาหาร หรือการใช้น้ำมันประเภทไหน จะมีความเสี่ยงก่อให้เกิดมะเร็งปอดมากกว่ากัน แต่ถ้าต้องสัมผัสควันพวกนี้ในปริมาณมาก เป็นเวลานาน และอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทไม่ดีก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น นอกจากนี้ปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ ที่เกิดจากการสูดไอควันน้ำมันจากการทำอาหาร อาจเกิดได้ในคนที่มีโรคประจำตัวบางโรค เช่น โรคหอบหืด หรือภูมิแพ้ จะเป็นสาเหตุของการกำเริบเฉียบพลันของโรคได้"
- จากข่าวไทยรัฐ วันที่ 12 พ.ย. 2560 "จริงหรือมั่ว! ไอน้ำมันทอดในครัว เสี่ยงเป็นโรคร้าย ตายได้จริง?"

หลายๆ คนคงยังไม่รู้ ว่าอันตรายจากของทอด หรือน้ำมันทอดซ้ำ ไม่ได้ตกอยู่กับแค่ผู้บริโภคที่รับประทานเข้าไปเท่านั้น ในระยะหลัง ได้มีการศึกษาวิจัยในกลุ่มผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ พบว่าคนที่ประกอบอาหารจำพวกนี้และสูดดมไอน้ำมันเป็นประจำ เสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด

สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพ เชฟ กุ๊ก พ่อครัว แม่ครัว ที่จำเป็นต้องผัด ทอดอาหารร้อนจัดในน้ำมันเป็นประจำ ย่อมหลีกเลี่ยงการสูดดมตรงนี้ได้ยาก ทีนี้จะมีแนวทางไหนที่ช่วยป้องกันการสูดดมควันและไอน้ำมันจากการประกอบอาหารเข้าไปตรงๆ บ้าง วันนี้ ลัคกี้เฟลม สรุปมาให้สั้นๆ 4 ข้อแล้วครับ

  1. เปลี่ยนน้ำมันในทอดอาหารอยู่เสมอ
    ไม่ควรทอดอาหารในน้ำมันเกิน 2 ครั้ง หรือสังเกตได้ไม่ยากจากสีและความหนืดของน้ำมัน น้ำมันที่ดีสีจะต้องใส และเหลวไม่เหนียวข้น ตรงข้ามกับน้ำมันทอดซ้ำเกิน 2 ครั้งขึ้นไปจะสีเข้มคล้ำเหนียวหนืด ซึ่งส่งผลร้ายต่อทั้งคนทำและคนทาน
  2. ห้องครัวอากาศถ่ายเทสะดวก
    ห้องครัวควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก หรือมีระบบดูดอากาศออกไปภายนอกเพื่อลดความหนาแน่นของกลิ่น ควัน ไอน้ำมัน การสูดดมไอน้ำมันที่เข้มข้นที่สะสมในห้องปิดเป็นระยะเวลานานย่อมไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ
  3. ใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน
    หน้ากากอนามัยสามารถช่วยกรองไอน้ำมันบางส่วนทิ้งไปได้ แต่อย่างไรก็ดีวิธีนี้เป็นแค่การป้องกันชั่วคราว ไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้วิธีเดียวเป็นระยะเวลานาน
  4. ติดเครื่องดูดควัน
    การติดเครื่องดูดควัน ช่วยดักไอและควันจากการทำอาหารกว่า 80% ขึ้นไป โดยดูดเข้าไปในท่อที่ตัวเครื่องออกไปปล่อยในที่เปิดนอกอาคาร ช่วยให้กลิ่นไอน้ำมันตกค้างในห้องครัวน้อยลงเป็นอย่างมาก จนแทบไม่มีกลิ่นหรืออนุภาคที่มีผลร้ายต่อสุขภาพต่อการสูดดม นอกจากนี้ ได้มีการศึกษาวิจัยในช่วงปี 2020 ว่านอกจากไอน้ำมันจะเป็นตัวการสำคัญในการเกิดมะเร็งปอดแล้ว การติดตั้งเครื่องดูดควันในห้องครัว ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดได้อย่างเห็นผลชัดเจนอีกด้วย อ้างอิง "Impact of cooking oil fume exposure and fume extractor use on lung cancer risk in non-smoking Han Chinese women" by TY Chen and more, 2020

วิธีการเลือกเครื่องดูดควัน

สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย การเลือกเครื่องดูดควันนั้นแสนจะยุ่งยาก ไม่เข้าใจ วันนี้ลัคกี้เฟลมเรารวบรวมวิธีเลือกซื้อเครื่องดูดควันฉบับ Checklist ง๊ายง่าย เสร็จจบใน 8 ข้อมาให้แล้วครับ

8 ทางลัด จัดเครื่องดูดควันโดนใจ

เครื่องดูดควันอัจฉริยะ Lucky Flame RG-911T(N) ตัวใหม่ ให้มากกว่าในราคาเท่าเดิม!! เสริมกำลังดูดถึง 1600 ลบ.ม./ชั่วโมง พร้อมด้วยระบบทำความสะอาดภายในเครื่องอัตโนมัติ และตั้งเวลาได้ปิดสูงสุด 10 นาทีไม่มีกลิ่นตกค้าง ควบคุมระบบสัมผัส สไลด์ปรับความแรง 20 ระดับ แถมท่อแข็งใหญ่ขึ้นเป็น 170มม. รับประกันมอเตอร์นาน 10 ปี

ลัคกี้เฟลม จุดประกายความสุขทุกครัวเรือน

เครื่องดูดควันลัคกี้เฟลม
วิธีทำความสะอาดเครื่องดูดควัน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้